รายงานข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รอบปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔

Release Date : 16-09-2021 00:00:00
รายงานข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รอบปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔

 1. งบประมาณของรัฐบาลสหพันธ์ฯ และรัฐบาลรัฐต่าง ๆ ของสหพันธ์ฯ

1.1 การขาดดุลงบประมาณ สํานักงานสถิติแห่งสหพันธ์ฯ ได้รายงานตัวเลขการใช้งบประมาณของ รัฐบาลสหพันธ์ฯ และรัฐบาลรัฐต่าง ๆ ของสหพันธ์ฯ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ซึ่งขาดดุลรวมทั้งสิ้นจํานวน 80.9 พันล้านยูโร

1.2 ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สหพันธ์ฯ นักเศรษฐศาสตร์สหพันธ์ฯ จากธนาคารกลางสหพันธ์ฯ (Deutsche Bundesbank) และธนาคาร ING-DiBa ให้ความเห็นว่างบประมาณส่วนใหญ่ของรัฐบาลสหพันธ์ฯ และรัฐบาลรัฐต่าง ๆ ของสหพันธ์ฯ ใช้ไปเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อาทิ ค่าวัคซีน ค่าใช้จ่าย ชดเชยให้แก่โรงพยาบาล เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19
ของรัฐบาลสหพันธ์ฯ

2. การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมส่งออกของสหพันธ์ฯ กับจีน

จากข้อมูลการศึกษาวิจัยของสถาบันเศรษฐกิจเยอรมัน (German Economic Institute) อุตสาหกรรม การส่งออกของสหพันธ์ฯ ไปยังตลาดอียูกําลังเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงกับจีน เนื่องจากจีนมีแนวโน้มขยาย การส่งออกสินค้าไปยังตลาดอียูมากขึ้น โดยที่ผ่านมาสินค้าที่จีนส่งออกไปยังอียูเพียงสินค้าประเภทสิ่งทอ ของเล่น และ เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปเท่านั้น

3. นโยบายและมาตรการปกป้องสภาพภูมิอากาศ (Climate protection) ของอียู

3.1 อียูตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 55 จากปี 1990 ภายในปี 2030 โดยเตรียมออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้กับสาขาการบิน ได้แก่ (1) การจัดเก็บภาษีน้ำามันก๊าด (Kerosene tax) (2) การเพิ่มความเข้มงวดในการออกข้อกําหนดและภาระผูกพันในการปล่อยมลพิษของสายการบินและ

(3) การกำหนดโควต้าการใช้น้ำามันก๊าดสังเคราะห์ (Synthetic kerosene) อย่างน้อยร้อยละ 5 กับสายการบินที่ลงจอด เติมเชื้อเพลิงในเขตอียู

3.2 ความเห็นของผู้บริหารสายการบิน Lufthansa ของสหพันธ์ฯ ผู้บริหารสายการบิน Lufthansa ไม่เห็นด้วยกับมาตรการข้างต้นของอียู เนื่องจากกังวลว่าสายการบินฯ จะสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันเนื่องจาก ต้นทุนสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการออกมาตรการดังกล่าวของอียู

3.3 ความเห็นของนาย Jan-Christoph Oetjen หนึ่งในคณะกรรมการด้านการขนส่งของ สภาอียู (จากพรรค Free Democratic Party :FDP) เห็นว่ามาตรการของอียูอาจทําให้สายการบินที่อยู่ภายใต้ ข้อกําหนดของอียูสูญเสียศักยภาพในการแข่งขัน และประเมินว่าการหาเสียงสนับสนุนความคิดเห็นของผู้บริหาร สายการบิน Lufthansa เป็นไปได้ค่อนข้างยาก

4. โครงการสร้างท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefired Natural Gas Terminal: LGNTerminal) ของสหพันธ์ฯ

4.1 การประเมินโครงการ LGN-Terminal ผู้เชี่ยวชาญจากคณะเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ พลังงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฮัมบูร์ก (Technical University of Hamburg) ประเมินว่าการวางแผนสร้าง LGN-Terminal ณ เมือง Brunsbuttel ในรัฐ Schleswig-Holstein ของบริษัท LNG Terminal GmbH จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งในระยะยาว

4.2 ความเห็นรัฐบาลสหพันธ์ฯ ต่อโครงการ LNG-Terminal ณ เมือง Brunsbuttel สหพันธ์ฯ ปัจจุบัน สหพันธ์ฯ ยังไม่มีท่าเทียบเรือสําหรับขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นของตนเอง รัฐบาลสหพันธ์ฯ จึงเห็นด้วยกับโครงการ ดังกล่าว

4.3 การต่อต้านโครงการ LNG-Terminal ณ เมือง Brunsbuttel สหพันธ์ฯ องค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหพันธ์ฯ (Die Deutsche Uniwelthilfe e.V) ได้ออกมาต่อต้านโครงการ LNG-Terminal เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาล สหพันธ์ฯ ควรสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งก๊าซที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ดังกล่าวเป็น พื้นที่ขนาดใหญ่เหมาะสมที่จะสร้างโครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายพลังงานเพื่ออนาคต

5. การประชุมสุดยอดด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ (Autogipfel)

5.1 การจัดตั้งกองทุนสําหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ รัฐบาลสหพันธ์ฯ ได้ประกาศจัดตั้งกองทุน 1 พันล้าน ยูโร เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหพันธ์ฯ

5.2 ความเห็นของสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์ นาง Hildegard Muller ประธานสมาคมอุตสาหกรรม รถยนต์ เห็นด้วยกับการจัดตั้งเงินกองทุนของรัฐบาลสหพันธ์ฯ เนื่องจากเห็นว่าเงินกองทุนดังกล่าวสามารถขับเคลื่อนการจ้างงานและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

5.3 ความเห็นของสมาคมด้านสิ่งแวดล้อมของสหพันธ์ฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจราจรขององค์กร ด้านสิ่งแวดล้อมของสหพันธ์ฯ อาทิ สมาพันธ์ฯ เพื่อสิ่งแวดล้อมและการปกป้องธรรมชาติสหพันธ์ฯ (Bund fur Umwelt und Naturschutz Deutschland) Greenpeace ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธ์ฯ หยุดใช้นโยบาย ด้านการปกป้องสภาพภูมิอากาศที่ไม่มีการกําหนดทิศทางและเป้าหมายที่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลสหพันธ์ฯ
ต้องหยุดสนับสนุนการผลิตรถยนต์แบบ Plug-In-Hybrid โดยใช้เงินภาษีของประชาชน

* *ระบบปลักอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) หรือรู้จักกันในชื่อ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle :PHEV)
เป็นรถยนต์ระบบผสมผสานที่ใช้การเผาไหม้ของ เครื่องยนต์แบบสันดาป และการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพื่อการขับเคลื่อน*