รายงานข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รอบต้นเดือน สิงหาคม ๒๕๖๔

Release Date : 15-09-2021 00:00:00
รายงานข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รอบต้นเดือน สิงหาคม ๒๕๖๔

รายงานข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รอบต้นเดือน สิงหาคม ๒๕๖๔

1. การส่งออกและการนําเข้าของสหพันธ์ฯ

1.1 การส่งออก สํานักงานสถิติแห่งชาติสหพันธ์ฯ รายงานการส่งออกของสหพันธ์ฯ เดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่ารวม 118.7 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 โดยนับว่าเป็นการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นเวลา 14 เดือน ติดต่อกันของสหพันธ์ฯ และ นับเป็นครั้งแรกที่การส่งออกของสหพันธ์ฯ สูงกว่าระดับการส่งออกของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ รัฐบาลสหพันธ์ฯ ออกมาตรการ lockdown เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

1.2 การนําเข้า สํานักงานสถิติแห่งชาติสหพันธ์ฯ รายงานการนําเข้าของสหพันธ์ฯ เดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า 2.4 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 เทียบกับ เดือนมิถุนายน 2563

2. การขยายเวลาการให้เงินช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ของรัฐบาล สหพันธ์ฯ

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ในการประชุม Coronagipfel ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการ รับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระหว่างรับบาลสหพันธ์ฯ และรัฐบาลรัฐต่างๆ ของสหพันธ์ฯ ที่ประชุม เห็นพ้องให้มีการขยายระยะเวลาการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ lockdown ของรัฐบาล สหพันธ์ฯ (Uberbrickungshitfe) ออกไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน จนถึงสิ้นปี 2564

3. แผนการจัดส่งพัสดุของบริษัท DHL Express

บริษัท DHL Express ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท Deutsche Post AG ได้ทําการสั่งซื้อ เครื่องบินไฟฟ้ารุ่น ALICE จํานวน 12 ลํา จากบริษัท Aviation ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างสหรัฐอเมริกาและ อิสราเอล เพื่อใช้ขนส่งพัสดุเร่งด่วน (Express) โดยเครื่องบินไฟฟ้ารุ่น ALICE เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก ขับเคลื่อนด้วย นักบินเพียงคนเดียว สามารถขนส่งสิ่งของได้ 1,200 กิโลกรัม และมีระยะทางบินได้ไกลสุด 815 กิโลเมตร/การชาร์จ ไฟฟ้าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจค้าขายออนไลน์ส่งผลให้การจัดส่งพัสดุแบบเร่งด่วน (Express) เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทําให้บริษัท DHL Express ต้องใช้เครื่องบิน Boeing 777 กว่า 200 ลํา สําหรับให้บริการจัดส่งพัสดุ ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ สอดคล้องกับแนวทางการปกป้องสภาพภูมิอากาศของ รัฐบาลสหพันธ์ฯ บริษัทฯ จึงได้วางแผนใช้เครื่องบินไฟฟ้ารุ่น ALICE ขนส่งพัสดุเร่งด่วน โดยคาดว่าบริษัท Aviation จะสามารถส่งมอบเครื่องบินดังกล่าวให้บริษัทฯ ได้ภายในปี 2567

4. การพัฒนาวัคซีนและยาต้านเชื้อไวรัส COVID-19

4.1 บริษัท BioNTech บริษัทสัญชาติสหพันธ์ฯ ที่ร่วมมือพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 กับบริษัท Pfizer ของสหรัฐอเมริกามีผลกําไรในการดําเนินธุรกิจไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 สูงถึง 2.8

4.2การวิจัยสารสกัดต้านเชื้อไวรัส COVID-19นักวิทยาศาสตร์ของกลุ่มวิจัยระดับนานาชาตินําโดย Goethe University ของสหพันธ์ฯ ได้รับเงินสนับสนุน 10ล้านยูโร จากอียูเพื่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพของ
สาร FX06ในการต่อต้านเชื้อไวรัส COVID-19ที่รุนแรงโดยการปกป้องเซลล์หลอดเลือด โดยจะทําการศึกษาวิจัยจาก ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19ที่แสดงอาการรุนแรง ทั้งนี้ สาร FX06เป็นสารที่เคยนํามาใช้ กับการทดลองรักษาผู้ ติดเชื้ออีโบลามาแล้ว นอกจากนี้ ในการทดลองตัวยาครั้งแรกกับผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19ที่แสดงอาการรุนแรง ผลปรากฏว่าการทํางานของปอดคนไข้ดีขึ้น

5. ข้อมูลเพิ่มเติม

5.1ผลกําไรจากการดําเนินธุรกิจของบริษัท BioNTech ในข้อ 4.1ทําให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า บริษัท BioNTech เพียงบริษัทเดียวจะสามารถขับเคลื่อน GDP ของสหพันธ์ฯ ให้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.5ในปี 2564ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในสหพันธ์ฯ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า เศรษฐกิจสหพันธ์ฯ โดยรวมปี 2564จะเติบโตที่ร้อยละ 4โดยการเติบโตของเศรษฐกิจที่มาจากบริษัท BioNTech เพียงแห่งเดียวคิดเป็น 1ใน 8ของการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งรัฐบาลสหพันธ์ฯ ให้ความเห็นว่าบริษัทฯ ไม่เพียงแต่พัฒนาวัคซีนที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาคของสหพันธ์ฯ ให้แข็งแกร่งด้วย

5.2 สมาพันธ์สมาคมนายจ้างแห่งสหพันธ์ฯ (Confederation of German Employers' Associations-BDA) ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลสหพันธ์ฯ ที่จะยกเลิกมาตรการการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน (จะยกเลิกมาตรการในวันที่ 11 ตุลาคม 2564) โดย ให้ความเห็นว่า หากรัฐบาลสหพันธ์ฯ จะยกเลิกมาตรการดังกล่าวก็ควรยกเลิกระเบียบข้อบังคับที่ให้นายจ้างจัดซื้อ ชุดตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ไว้บริการแก่ลูกจ้าง (Corona occupational health and safety ordinance) ซึ่ง ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2564 เป็นต้นมาด้วย เนื่องจากข้อกําหนดดังกล่าวเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่าย ในการจัดซื้อชุดตรวจหาเชื้อ COVID-19 ให้กับนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตชุดตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 อาจปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน